ตั้งแต่
ถึง
เหล็กตัวซี GI คืออะไร นิยมใช้งานแบบไหน
เหล็กตัวซี GI ลักษณะหน้าตัดของเหล็กจะคล้ายกับตัวอักษร C เกิดจากกระบวนการผลิตเหล็กม้วน GI นำมาตัดเป็นแผ่น(สลิท) แล้วนำมาม้วนขึ้นรูปตามขนาดที่ต้องการ โดยเหล็กตัวซี GI มีคุณสมบัติป้องกันการเกิดสนิมเนื่องจากมีการเคลือบสังกะสี ทำให้สามารถนำไปใช้กับงานโครงสร้างป้องกันสนิมได้ อีกทั้งยังเหมาะสำหรับบริเวณที่ต้องเจอความชื้นอยู่เป็นประจำ และในงานทั่วไปก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้เช่นกัน โดยเหล็กตัวซีจะเหมาะสำหรับงานโครงสร้างรองหรือโครงสร้างที่รองรับน้ำหนักไม่มากนัก เช่น โครงหลังคา แปหลังคา และด้วยคุณสมบัติของเหล็กตัวซีที่มีน้ำหนักที่ค่อนข้างเบา ทำให้ขึ้นโครงสร้างได้อย่างรวดเร็วป้องกันสนิม ทำให้คนนิยมใช้เหล็กตัวซี GI กันมากขึ้น
คุณสมบัติเด่น
เหล็กตัวซี GI ผ่านการเคลือบสังกะสี ทำให้เหล็กมีคุณสมบัติป้องกันสนิม
สามารถใช้งานได้ยาวนานกว่าเหล็กทั่วไปที่ไม่ได้ผ่านการเคลือบสังกะสี
ประหยัดเวลาในการทำงานเนื่องจากไม่ต้องทาสีกันสนิม อีกทั้งมีน้ำหนักที่ค่อนข้างเบาทำให้สามารถขึ้นโครงสร้างได้ง่ายและรวดเร็ว
การนำไปใช้งาน
เหมาะสำหรับโครงสร้างรอง หรือโครงสร้างที่รองรับน้ำหนักที่ไม่มากนัก เช่น โครงสร้างหลังคา แปหลังคา โครงสร้างที่อยู่อาศัยอาคารต่าง ๆ
เหล็กตัวซี GI สามารถนำมาใช้แทนเหล็กตัวซีทั่วไปได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับงานที่จะนำไปใช้งาน
สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับโครงสร้างทั่วไปได้เช่น การทำสะพาน อาคารสูง
คำแนะนำและข้อควรระวัง
ในการเลือกเหล็กตัวซี GI ไปใช้งานควรเลือกขนาดความหนาของเหล็กให้เหมาะสมกับการใช้งาน เพื่อให้ตอบโจทย์กับงานก่อสร้าง
เหล็กตัวซี GI ไม่เหมาะสำหรับนำไปเชื่อม หากต้องการนำเหล็กไปเชื่อมควรสวมอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยก่อนการเชื่อม เนื่องจากเหล็กตัวซี GI มีสารของสังกะสีในการเชื่อมเหล็กชนิดนี้อาจก่อสารพิษอันตรายแก่ผู้เชื่อมได้
ก่อนนำเหล็กตัวซี GI ไปใช้งานควรตรวจสอบก่อนใช้งานทุกครั้ง โดยผิวเหล็กจะต้องมีความเรียบ ไม่มีรอยบุ แตกหัก หากพบว่าชำรุดควรเปลี่ยนใหม่ทันที
ภาพที่ใช้เป็นภาพที่ใช้เพื่อประกอบการโฆษณา อาจทำให้สีของผลิตภัณฑ์ในภาพแตกต่างจากสีของผลิตภัณฑ์จริง
การเคลื่อนย้ายและเก็บรักษา
ข้อแนะนำในการเคลื่อนย้าย
ในการเคลื่อนย้ายเหล็กทุกครั้ง จะต้องผูกผ้าสีแดงด้านท้ายเหล็ก เพื่อเป็นการแจ้งเตือน หรือบ่งบอกผู้ที่ใช้ถนนร่วมให้ระมัดระวัง โดยปฏิบัติตามกฎ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522
การเคลื่อนย้ายเหล็ก
การเคลื่อนย้ายเหล็กที่วางเรียงอยู่บนชั้น สามารถใช้คนช่วยกันยกขึ้นรถได้เลย แต่หากเหล็กที่ยกมัดรวมกันเป็นมัดสามารถใช้สายพานสำหรับยกเหล็กและรถเครนในการเคลื่อนย้ายเหล็กได้ โดยนำสายพานสำหรับยกเหล็กมาคล้องเป็นห่วงให้มีความห่างจากจุดกึ่งกลางของเหล็กประมาณ 50 เซนติเมตร และเอาห่วงไว้ตรงกลางเพื่อให้มีความสมดุลกันจากนั้นก็ยกเหล็กไว้ที่รถได้เลย
การนำเหล็กมาวางบนรถกระบะ
เหล็กที่นำมาวางจะต้องคลุมผ้าให้เรียบร้อยมีการมัดหัวมัดท้ายของเหล็กอย่างแน่นหนาเพื่อความปลอดภัย และผูกผ้าสีแดงด้านท้ายเหล็ก แต่มีข้อจำกัดคือ เหล็กที่ยาวเลยด้านหน้ารถกระบะจะต้องมีความยาวไม่เกิน 2 เมตร และยื่นออกมาด้านท้ายรถกระบะไม่เกิน 2.5 เมตร
การนำเหล็กมาวางบนรถ 6 ล้อติดเฮี๊ยบ
ก่อนนำเหล็กมาวางจะต้องหาไม้หมอนมารองเหล็กเพื่อให้เหล็กแต่ละชั้นมีความสมดุลกัน จากนั้นนำแผ่นกันกระแทกมารองก่อนมัดโซ่ วิธีการมัดเหล็กจะต้องมัดทั้งหัวและท้ายมีผ้าคลุมเพื่อความเรียบร้อย
การเก็บรักษา
พื้นที่ในการจัดเก็บเหล็กควรเป็นพื้นที่โล่งไม่มีความชื้น เหมาะสำหรับการจัดเก็บเหล็กโดยเฉพาะ
ควรแยกประเภทของเหล็กเป็นหมวดหมู่ ไม่ควรนำเหล็กแต่ละชนิดมาวางซ้อนหรือวางทับกัน เนื่องจากเหล็กบางชนิดมีน้ำหนักที่มากกว่าอาจทำให้เหล็กที่มีความเบาหรือบางกว่าเสียรูปได้ และควรหาป้ายมาติดเพื่อบ่งบอกชนิดของเหล็กนั้น ๆ เพื่อให้ง่ายสะดวกต่อการหยิบไปใช้งาน
กรณีกองเหล็กไว้กลางแจ้ง ควรหาผ้าใบมาคลุมเพื่อป้องกันเหล็กโดนละอองน้ำ
ในงานโครงสร้างขนาดกลาง - ขนาดใหญ่ ควรสร้างพื้นที่เก็บเหล็กโดยการเทคอนกรีตเพื่อทำพื้นที่สำหรับจัดเก็บเหล็ก เพื่อให้เป็นระเบียบเรียบร้อย