ตั้งแต่
ถึง
โฟมที่สามารถพบเห็นได้ทั่ว ๆ ไปจะมีลักษณะเป็นแผ่น ทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีหลากหลายขนาดแตกต่างกันออกไปตั้งแต่แผ่นบางมากไปจนถึงแผ่นที่มีขนาดหนามาก ขนาดความหนาของโฟมจะเหมาะสมกับการใช้งานที่ต่างกัน วันนี้มีข้อมูลเรื่องของโฟมแผ่นมาฝากเพื่อน ๆ กันครับ
โฟมแผ่น (EPS) หรือมีชื่อเต็มว่า Expanded polystyrene Foam เป็นโฟมที่มีลักษณะแบบแผ่น รูปทรงสี่เหลี่ยม เกิดจากการรวมตัวกันของเม็ด โฟม ซึ่งก่อนจะเกิดเป็นขั้นตอนนี้ได้นั้นต้องเกิดจากการนำเม็ดพลาสติกที่เป็นเรซิ่นผสมเข้ากับสารที่ส่งผลให้เกิดการพองตัว และนำเข้าไปสู่กระบวนการอบด้วยไอร้อนจนกระทั่งพองตัวกลายเป็นเม็ดโฟมที่มีอากาศอยู่ภายในถึง 98% ส่วนอีก 2% คือเนื้อพลาสติกเรซิ่น กระบวนการต่อมาคือการนำเม็ดโฟมจำนวนมหาศาลมาอัดแน่นรวมกันจนกลายร่ายเป็นแผ่นโฟมที่พบเห็นในปัจจุบัน น้ำหนักของโฟมมีความเบาทั้งที่ขนาดแผ่นค่อนข้างใหญ่ก็เพราะในเม็ดโฟมเต็มไปด้วยอากาศเป็นจำนวนมากนั่นเองครับ
โฟมชนิดแผ่นมีอยู่ 2 ประเภทด้วยกัน คือ โฟมชนิดลามไฟ และ โฟมชนิดไม่ลามไฟ
โฟมชนิดลามไฟ (P-grade) คือ โฟมที่จัดอยู่ในเกรดโฟมธรรมดา ก่อให้เกิดการติดไฟได้ง่าย และไฟสามารถลุกลามได้อย่างรวดเร็ว ไม่นิยมใช้กันในงานจำพวกงานก่อสร้างแต่นิยมใช้กับงานทั่ว ๆ ไปที่ห่างไกลกับไฟ
โฟมชนิดไม่ลามไฟ (F-grade) คือ โฟมที่มีส่วนผสมของสารป้องกันการลุกลามของไฟ ถึงแม่ว่าโฟมชนิดนี้ยังคงติดไฟได้ แต่ก็สามารถดับได้ด้วยตัวเองภายใน 10 วินาที เหมาะกับการนำไปใช้งานประเภทการก่อสร้างหรืองานที่จำเป็นต้องข้องเกี่ยวกับไฟ
ป้องกันการไหลผ่านของน้ำ
ป้องกันเสียงจากทั้งภายนอกและภายใน
แผ่น โฟมสามารถนำไปตัดเป็นรูปแบบต่าง ๆ ได้ง่าย
อายุการใช้งานแผ่นโฟมค่อนข้างยาวนาน
ค่าในการนำความร้อนต่ำ นิยมนำไปทำเป็นฉนวนกันความร้อน
รับแรงกระแทกได้ดี
นำกลับมารีไซเคิลให้เป็นเม็ดพลาสติกเรซิ่นได้
โฟมแผ่น ขนาด 60 x 120
ขนาด 120 x 300
ขนาด 120 x 600
ขนาด 200 x 360
P-grade |
F-grade |
ความหนาแน่น (kg/m3) |
ความหนาแน่น (lb/ft3) |
B |
- |
8.0 |
0.50 |
BS |
- |
8.8 |
0.55 |
B1 |
- |
10.4 |
0.65 |
B2 |
- |
12.0 |
0.75 |
B3 |
BF3 |
12.8 |
0.80 |
A |
AF |
16.0 |
1.00 |
A1 |
AF1 |
20.0 |
1.25 |
A2 |
AF2 |
24.0 |
1.50 |
A3 |
AF3 |
28.0 |
1.75 |
A4 |
AF4 |
32.0 |
2.00 |
A5 |
AF5 |
36.0 |
2.25 |
* kg/m3 = กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร, lb/ft3 = ปอนด์ต่อลูกบาศก์ฟุต
โฟมรูปแบบแผ่นนิยมนำไปทำเป็นฉนวนหรือนิยมนำไปใช้เป็นส่วนประกอบหนึ่งในงานก่อสร้าง ทั้งใช้เป็นผนังฉนวนโฟมที่ห้อมด้วยไม้อัด เหล็ก หรือแผ่นพลาสติก หรือที่รู้จักกันในนาม sandwich panels นอกจากนั้นแล้วยังสามารถนำไปใช้งานเป็นส่วนหนึ่งของร้านอาหาร ผนังกั้นห้อง ห้องเย็น อาคารสำนักงาน ห้องเก็บสินค้า โรงปลูกเห็ด ห้างสรรพสินค้า ตู้คอนเทนเนอร์ ห้องทดลอง ซึ่งแต่ละพื้นที่นั้นจำเป็นที่จะต้องใช้โฟมเพื่อเป็นฉนวนสำหรับกันความร้อนและโฟมก็สามารถทำหน้าที่ดังกล่าวได้เป็นอย่างดี
นำไปใช้ในงานก่อสร้างถนน
ใช้ประกอบการก่อสร้างสะพาน
ใช้ก่อสร้างเป็นบ้านลอยน้ำ
ใช้สำหรับเป็นบรรจุภัณฑ์ประเภทต่าง ๆ
ในโลกปัจจุบันได้มีความร้อนเพิ่มขึ้นอย่างทวีคูณนั่นก็เพราะจากเศษขยะหรือจากการที่มีต้นไม้ไม่เพียงพอ หลายคนอาจคิดว่าการใช้โฟม EPS จะส่งผลให้เกิดการใช้พลังงานที่มากขึ้นไปอีก แต่การใช้โฟม EPS ออกแบบเป็นส่วนหนึ่งของบ้านพักอาศัย โรงแรม หรืออาคารสำนักงานจะช่วยทำให้เป็นการประหยัดพลังงานไปในตัว เพราะโฟมประเภทนี้เป็นโฟมที่ทำหน้าที่เป็นฉนวนกันความร้อนได้เป็นอย่างดี นอกจากจะสามารถใช้งานเป็นส่วนประกอบในการก่อสร้างแล้วยังสามารถนำกลับไปรีไซเคิลเพื่อนำกลับมาใช้งานซ้ำได้อีกหลายครั้ง เมื่อไม่ใช้งานแล้วยังคงสามารถนำไปบดผสมเข้ากับดินเพื่อปลูกต้นไม่ได้ด้วยเช่นกันนะครับ
เห็นไหมครับเพื่อน ๆ ว่าโฟมแผ่นมีประโยชน์มากมายกว่าที่ทุกคนคิด ที่สำคัญคือไม่ได้ทำให้โลกร้อนอย่างที่เข้าใจกันมาตลอดเวลา เพราะโฟม EPS เปรียบเสมือนฉนวนกันความร้อนและยังสามารถนำไปรีไซเคิลซ้ำ ๆ นำกลับมาสร้างประโยชน์ได้ใหม่ เช่น นำไปผสมเป็นส่วนประกอบของการก่อสร้างอาคาร สะพาน ถนน และอีกหลายประเภทงานโดยที่ไม่จำเป็นต้องทำการเผาโฟมจนเกิดเป็นมลพิษเลยล่ะครับ