BuildingVille

เหล็กเส้นกลม คืออะไร นิยมนำไปใช้กับงานรูปแบบไหน ? 


โพสต์เมื่อ 24 Oct 2023 เข้าชม 211 ครั้ง

เหล็กเส้นกลม คืออะไร ?  

เหล็กเส้นกลม (Round Bars) หรือ เหล็ก RB คือ เหล็กที่มีภาคตัดขวางเป็นรูปวงกลม ผิวของตัวเหล็กมีความเรียบ เกลี้ยง ไม่มีปีก หรือลูกคลื่น เหล็กเส้นกลมตามมาตรฐานของอุตสาหกรรม คือ มอก.28/2559 , 32/2532 เส้นผ่าศูนย์กลางของเหล็กเส้นกลมจะอยู่ที่ 6 มิลลิเมตร ไปจนถึง 34 มิลลิเมตร โดยความยาวมาตรฐานของเหล็กเส้นกลมจะอยู่ที่ 10 และ 12 ซึ่งคุณภาพของเหล็กเส้นกลมที่เป็นที่รู้จักคือ SR24  

 

เหล็ก SR 24 คืออะไร ?  

เหล็ก SR24 (Steel Round 24) หรือเหล็ก SR24 คือ เหล็กเส้นกลมที่เป็นไปตามมาตรฐาน มอก. 20-2559 ซึ่งตัวอักษรย่อ SR หมายถึง Standard Round Bar ที่เป็นมาตรฐานของเหล็กเส้นกลม ส่วนตัวเลข 24 เป็นตัวบ่งบอกว่าเหล็กชนิดนี้มีความต้านทานแรงดึง ณ จุดครากไม่ต่ำกว่า 24 กิโลกรัม/ตารางมิลลิเมตร 

 

การนำไปใช้งาน เหล็กเส้นกลม SR24  

เหล็ก SR24 หรือเหล็กเส้นกลม SR 24 เหล็กชนิดนี้จะเหมาะสำหรับการใช้งานกับการก่อสร้างขนาดเล็ก ถึงการก่อสร้างขนาดกลาง เช่น การสร้างที่อยู่อาศัยในรูปแบบของอาคารพาณิชย์ , การสร้างสำนักงาน , การสร้างที่อยู่อาศัยตัวบ้านเรือน งานก่อสร้างสาธารณะเพื่ออำนวยความสะดวก เช่น การทำสะพาน , ทำรั้ว , พื้นถนน รวมถึงวัสดุปกรณ์ในการเกษตรอีกด้วย  

 

เหล็กเส้นกลมผิวเรียบ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดไหนบ้าง ?  

เหล็กเส้นกลมสามารถแบ่งเป็น Round Bar (RB) ย่อย ๆ ได้ดังนี้  

  • RB6 เหล็กเส้นกลม 2 หุน : นิยมใช้ทำปอกเสาและปอกคาน เหล็กเส้นกลม 2 หุน จะเหมาะสำหรับงานก่อสร้างที่ไม่ได้รับแรงมาก  

  • RB9 เหล็กเส้นกลม 3 หุน : เหล็ก  RB9 เส้นกลม 3 หุนจะมีลักษณะการใช้งานที่เหมือนกับ RB6 เหล็กเส้นกลม 2 หุน คือ เหมาะสำหรับงานที่ไม่ได้รับแรงมาก  

  • RB12 เหล็กเส้นกลม 4 หุน : เป็นเหล็กที่นิยมใช้กับงานกลึงหัวน็อตต่าง ๆ และมักถูกใช้สำหรับงานเหล็กเสริมคอนกรีตเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับโครงสร้าง แต่เหล็ก RB12 ไม่ควรนำไปใช้กับงานยึดเกาะปูน เนื่องจากผิวของเหล็กมีความเรียบมนทำให้เหล็กชนิดนี้อาจเกาะปูนได้ไม่ดีเท่าที่ควร  

  • RB19 : เหล็กเส้นนี้นิยมใช้กับงานเพื่ออำนวยความสะดวก ซึ่งส่วนใหญ่นิยมใช้กับการทำถนน 

  • RB25 : เหล็กเส้นกลมที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 25 มิลลิเมตร  เหล็กชนิดนี้เหมาะสำหรับงานที่ต้องการรับแรงและน้ำหนักมาก ๆ เหมาะสำหรับใช้ในการยึดโครงป้ายที่มีขนาดใหญ่  

 

ตารางขนาดเหล็กเส้นกลม RB  

ขนาด  

เส้นผ่าศูนย์กลาง /มม.  

พื้นที่ตัดขวาง / ตร.มม.  

มวล / กก./ม. 

RB 6  

6  

28.30  

0.222 

RB 8  

8  

50.30  

0.395 

RB 9  

9  

63.60  

0.499 

RB 10  

10  

78.50 

0.616 

RB 12  

12 

113.10 

0.888 

RB 15  

15  

176.70 

1.387 

RB 19  

19  

283.50 

2.226 

RB 22  

22 

380.10  

2.984 

RB 25  

25  

490.90 

3.853 

RB 28  

28 

615.80 

4.834 

RB 34  

34  

907.90 

7.127 

 

วิธีการเลือกเหล็กเส้นกลมให้ได้คุณภาพดี  

  • เหล็กเส้นกลมที่เลือกใช้จะต้องมีลักษณะภาคตัดขวางเป็นรูปวงกลมผิวที่เรียบเกลี้ยง ไม่มีรอยปริ หรือรอยแตก  

  • เส้นผ่านศูนย์กลางและน้ำหนักของเหล็กเส้นกลมจะต้องตรงตามที่มาตรฐานกำหนด เช่น หากเลือกซื้อเหล็ก SR24 ขนาด 12 มิลลิเมตร เมื่อทำการวัดเส้นผ่าศูนย์กลางจะต้องได้ 12 มิลลิเมตร  

  • เมื่อนำเหล็กเส้นกลมมาดัดโค้ง งอ ตัวเหล็กจะต้องไม่เกิดการแตกหักได้ง่าย  

  • เหล็กเส้นกลมทั้งเส้นจะต้องไม่มีสนิมเกาะอยู่บนผิวเหล็ก 0.888 กก./มม. มีพื้นที่ตัดขวางอยู่ที่ 113.10 ตร.มม.  

  • มีเครื่องหมาย มอก. (มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม) รองรับ  

 

เหล็กเส้นกลม และ เหล็กข้ออ้อย แตกต่างกันอย่างไร ?  

เหล็กเส้นกลม  

  • มีภาคตัดขวางเป็นรูปวงกลม ผิวเรียบเป็นเนื้อเดียวกัน ไม่ขรุขระ  

  • มีชั้นคุณภาพคือ SR24 ซึ่งเป็นตัวบ่งบอกถึงความสามารถในการรับแรงดึงที่จุดครากไม่ต่ำกว่า 2,400 กก./ตร.มม.  

  • มีหลายขนาดตั้งแต่ RB 6 – RB 34  

 

เหล็กข้ออ้อย  

  • มีภาคตัดขวางเป็นรูปวงกลมเหมือนเหล็กเส้นกลมแต่แตกต่างกันตรงที่ผิวของเหล็กข้ออ้อย จะมีลักษณะเป็นบั้งในระยะที่เท่า ๆ กันทั้งเส้น 

  • มีความสามารถในการยึดเกาะกับปูนได้ดีกว่าเหล็กเส้นกลม  

  • ชั้นคุณภาพของเหล็ก คือ SD30 , SD40 และ SD50 หมายความว่าเหล็กข้ออ้อยสามารถรับแรงดึงที่จุดครากไม่ต่ำกว่า 3,000 กก./ตร.ซม. , ไม่ต่ำกว่า 4,000 กก./ตร.ซม. และ ไม่ต่ำกว่า 5,000 กก./ตร.ซม. ตามลำดับ  

  • ขนาดของเหล็กข้ออ้อยมีตั้งแต่ DB10 – DB32  

 

ที่มา 

1 2 3 4